วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สุขภาพดี กับ นาฬิกาชีวิต

เฮลตี้ 24 ชั่วโมงกับนาฬิกาชีวิต

สุขภาพดีกับนาฬิกาชีวิต

"แม้ในเวลาที่คุณหลับพักผ่อน แต่ยังมีบางอย่างที่ยังทำงานอย่างต่อเนื่อง และพร้อมให้บริการคุณตลอดเวลา"

เดี๋ยวก่อน.. เราไม่ได้เป็นโฆษณาร้านสะดวกซื้อ แต่เรากำลังพูดถึงอวัยวะต่างๆในร่างกายของมนุษย์ที่ทำงานอย่างแข็งขันไม่มีวันหยุดแม้เสี้ยววินาทีต่างหาก

แล้วร่างกายของเรารู้เวลาได้ยังไง

ในร่างกายของเรา จะมีต่อมเหนือสมอง เป็นต่อมไร้ท่อที่มีชื่อว่า ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ทำหน้าที่เป็นเหมือนตาที่สาม โดยเจ้าต่อมไพเนียล จะรับรู้และสร้างฮอร์โมนเซโรโทนินที่ทำให้เรารู้สึกเฟรช คึกคัก ตื่นตัว เมื่อเจอกับแสงสว่างในยามเช้า แม้ในยามที่เราหลับตาอยู่ และในความมืด ต่อมไพเนียลนี่ละที่สร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและหลับสนิท และส่งผลต่อฮอร์โมนตัวอื่นๆในร่างกายด้วย

การเชื่อมโยงกับกลางวัน กลางคืน และฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายทำงานตามช่วงเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับเวลาในการดำเนินชีวิต ถ้ามีการกระตุ้นหรือส่งเสริมการทำงานของอวัยวะเหล่านั้นในเวลาที่ถูกต้อง ก็จะส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ แต่หากไม่ทำตามเวลาของนาฬิกาชีวิตก็คือของเสียที่จะสะสมในร่างกาย รวมทั้งการเสื่อมของอวัยวะต่างๆก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการทำความรู้จักกับนาฬิกาชีวิตและพยายามปรับไลฟ์สไตล์ของเราให้แมทช์กับการทำงานของอวัยวะต่างๆก็เป็นเคล็ดลับเฮลตี้แบบง่ายๆที่ได้ประโยชน์มากเลยทีเดียว

นาฬิกาชีวิตทำงานอย่างไร

01.00-03.00 น ช่วงเวลาทำงานของตับ นอนหลับดีที่สุด
เพราะตับทำหน้าที่ ขจัดของเสียออกจากร่างกาย ผลิตอินซูลิน และ ผลิตน้ำดีไว้ย่อยไขมัน การส่งเสริมให้ตับทำงานได้ดีนั้นคือการนอนหลับสนิท ไม่ควรทานอาหารเวลานี้เพราะทำให้ตับทำงานหนักและเกิดสารพิษตกค้างในตับอีกด้วย

03.00-05.00 น. ช่วงเวลาทำงานของปอด ตื่นเช้าขึ้นมาสูดอากาศสดชื่น
ตื่นมาสูดอากาศยามเช้าให้ฟินเวอร์ พร้อมผิวเด้ง หน้าใส เพราะเป็นเวลาที่ปอดฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่ คนเป็นหวัด หอบหืดต้องระวัง ช่วงนี้ปอดกำลังขับของเสียอาจจะมีอาการมากเป็นพิเศษ


05.00-07.00 น. ช่วงเวลาทำงานของลำไส้ใหญ่ ต้องไปขับถ่าย
ลำไส้ใหญ่จะทำงานได้ดีในเวลานี้ ทำให้ของเสียและกากอาหารถูกขับออกจากร่างกายได้ดีที่สุด แต่ถ้ายังมีปัญหาเรื่องขับถ่าย ลองดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว บีบมะนาวด้วยก็ยิ่งดีเลย
 

07.00-09.00 น. ช่วงเวลาทำงานของกระเพาะอาหาร ข้าวเช้าสำคัญตรงนี้
เป็นเวลาที่กระเพาะจะดูดซึมและย่อยสารอาหารต่างๆได้ดีที่สุด ไม่ทิ้งให้กลับมาเป็นภาระของพุง ต้นแขน ต้นขาอีกด้วย

09.00-11.00 น. ช่วงเวลาทำงานของม้าม ทำงานกันเถอะ
เวลานี้ไม่ควรจะกินมากหรือพูดมากเพราะจะทำให้ม้ามชื้น ไม่แข็งแรง การกินอาหารในเวลานี้ทำให้อ้วนง่าย การนอนในเวลานี้จะทำให้ม้ามทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร และทำให้ม้ามอ่อนแอ

11.00-13.00 น. ช่วงเวลาทำงานของหัวใจ เบาๆผ่อนคลาย
หัวใจทำงานหนักช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เที่ยงนั่งชิลล์ Enjoy Eating คุยเม้าท์เบาๆเพลินๆเก็บแรงไว้ทำงานตอนบ่ายดีกว่า

13.00-15.00 น. ช่วงเวลาทำงานของลำไส้เล็ก งดกินช่วงนี้ สมองแล่น
เวลานี้ควรละเว้นไม่กินอาหารทุกชนิด เพื่อให้ “ลำไส้เล็ก” ทำงานได้เต็มที่ ช่วงนี้สมองซีกขวาทำงานได้ดี


17.00-19.00 ช่วงเวลาทำงานของไต สดชื่น แจ่มใส ไม่อยู่นิ่ง
เป็นเวลาที่ไม่ควรจะเข้านอน เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ควรออกกำลังกายหรือทำงานไม่อยู่นิ่งๆ เช่นทำงานบ้านต่างๆเพื่อให้ร่างกายสดชื่น แอคทีฟ เพิ่มความดันเลือด จะช่วยให้ผิวสดใสแข็งแรง
 

19.00-21.00 ช่วงเวลาทำงานของเยื่อหุ้มหัวใจ ทำสมาธิ ผ่อนคลาย
เป็นช่วงเวลาของการหยุดนิ่ง อาจจะทำโยคะ หรือทำสมาธิ ถ้ามีเวลาให้แช่น้ำอุ่นจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่

21.00-23.00 น. ช่วงเวลาทำงานของอุณหภูมิในร่างกาย ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น
เป็นเวลาที่ร่างกายต้องการความอบอุ่น จึงไม่ควรอาบน้ำเย็นในช่วงนี้ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ง่าย ถ้าเป็นคนเข้านอนเร็ว เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะกับการซุกตัวอยู่ในผ้าห่ม หรือในอ้อมกอดของใครซักคนก็ได้นะ

23.00-01.00 น. ช่วงเวลาทำงานของถุงน้ำดี ดื่มน้ำก่อนนอน
เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงน้ำดีข้น ส่งผลให้เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ดังนั้นจึงต้องอย่าลืมดื่มน้ำก่อนเข้านอน



แน่นอนว่า ด้วยภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบต่างๆ อาจจะทำให้เราไม่สามารถดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับนาฬิกาของชีวิตได้ทุกวัน แต่อย่างน้อยเมื่อรู้และเลือกปฏิบัติในสิ่งที่พอทำได้ ก็น่าจะเป็นผลดีบ้างไม่มากก็น้อย อย่าลืมว่า สุขภาพเป็นสิ่งที่คุณเลือกซื้อไม่ได้ แต่เลือกปฏิบัติได้เพื่อตัวเองและครอบครัวที่คุณรัก

ขอบคุณข้อมูลจาก
thaihealth.or.th, gotoknow.org, cigna.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น