วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ลุงฟาง มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ


ลุงฟาง มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
แนวคิดและหลักการเกษตรธรรมชาติ : แนวคิดเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ

ในอัลบั้ม “หากหัวใจยังรักควาย” ของวงคาราบาว เพลงชุดท้ายในแผ่นที่ 2 มีชื่อว่า “ลุงฟาง”
เพลงนี้เกิดมาจากการเรียบเรียงเรื่องราวของชายชาวญี่ปุ่นที่ชื่อมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ชายผู้ที่กลับคืนสู่วิธีธรรมชาติด้วยการทำนาโดยไม่ต้องทำนา เก็บเวลาไว้คุยกับตะวัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพลงนี้ทำให้หลายคนรู้จักมาซาโนบุ ฟูกูโอกะไม่ต่างจากหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” (ในชื่อภาษาไทย) ที่เขาเขียน แต่ปัจจุบันศาสตร์ที่ว่าด้วยการ “ทำนา โดยไม่ต้องทำนา” นี้ ดูจะกลายเป็นวิถีที่ล้าหลังและโบราณไม่ต่างจากอายุของลุงฟาง

ในวันที่เทคโนโลยียกระดับขีดความสามารถไปข้างหน้าเพื่อสนองต่อความต้องการบริโภคจำนวนมากของคนบางกลุ่ม หลักปฏิบัติ 4 ข้อ ใจความสำคัญอันว่าด้วย (1) ไม่ไถพรวนดิน (2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก (3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช (4) ไม่ใช้สารเคมี ดูจะเป็นสิ่งไม่ทันกาล

เพราะถึงจะมีข้อดี (1. สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย 2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์ 3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น 4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ 5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย) แต่ก็มีสิ่งที่เป็นจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นกัน

1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ 2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ 3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน 4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่ 5.) ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ

ซึ่งข้อเสียที่ว่า ส่งผลบรรษัทให้ข้ามชาติ และในชาติหลายรายผลิตสารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นการเติบโตของพืชผลให้แก่เกษตรกรออกขายสู่ตลอดอย่างทันท่วงที


ไม่ใช่ว่าจะเห็นนวัตกรรมนี้ว่าดีกว่า แต่สิ่งที่ว่าดีก็มีข้อเสียเหมือนกับที่การทำนาโดยไม่ต้องทำนามีข้อเสียเช่นกัน

กลาง เดือนมกราคม ไทยตกเป็นข่าวใหญ่ในเวทีโลก เมื่อทางกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ได้ทำการระงับส่งออกสินค้าพืชผัก 16 ชนิด อาทิ กะเพรา โหระพา พริกขี้หนู ฯลฯ จากประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เนื่องจากการตรวจพบว่าพืชผักที่ว่านั้นมีสารเคมีตกค้างจากการผลิต

หลัง จากเกิดเรื่องนี้ขึ้น ผู้ใหญ่ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็ออกมาประกาศกร้าวว่าต่อไปนี้จะตรวจสอบผู้ ส่งออกสินค้าทางการเกษตรอย่างจริงจัง ใครที่ส่งของผิดหลักคุณภาพมาจะถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด

ถึงกระนั้นในเวลาเดียวเมื่อลองตรวจสอบลงในรายละเอียดก็พบเรื่องชวนตกใจ

ประเทศ ไทยใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เรานำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปีละเกือบ 140 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่านำเข้าประมาณ 17,000 ล้านบาท ในขณะที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด ในโลกถึง 25,000 ชื่อ ส่วนมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนพันกว่าชื่อเท่านั้น

สารเคมีที่ใช้กันมากใน ไทยอย่างคาร์โบฟูแรน (ยาฆ่าแมลง) ทางประเทศผู้ผลิตคือสหรัฐอเมริกาได้สั่งเลิกใช้แล้ว และทางกลุ่มประเทศอียูก็ได้ห้ามใช้และนำเข้าอย่างเด็ดขาด

จึงไม่แปลกที่ไทยจะต้องถูกแบนสินค้าส่งออกทางการเกษตร
ลองกลับมาดูใจความสำคัญของการทำนาโดยไม่ต้องทำนาใหม่อีกหน

1) ไม่ไถพรวนดิน 

2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก 
3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช 
4) ไม่ใช้สารเคมี แท้จริงแล้วก็คือ “การแทรกแซงธรรมชาติของมนุษย์ให้เหลือน้อยที่สุด”

หรือจะเรียกว่าเป็นการทำเกษตรแบบดั้งเดิมก็ว่าได้
ลองดูเพิ่มเติมในข้อที่บอกว่าไม่ใช้สารเคมี มีคำอธิบายว่า

“เมื่อ พืชอ่อนแอลงเพราะผลจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่การไถพลิกดิน การใช้ปุ๋ย เป็นต้นทำให้เกิดความไร้สมดุลของโรคพืช และแมลงก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ในการเกษตร”

“ธรรมชาตินั้นหากปล่อยไว้ ตามลำพังก็จะอยู่ในสภาพสมดุล แมลงที่เป็นอันตรายและโรคพืชมักมีอยู่เสมอแต่ในธรรมชาตินั้นมันจะไม่เกิด ขึ้นจนถึงระดับที่ต้องใช้สารที่มีพิษเหล่านั้นเลย”

“วิธีการควบคุมโรคและแมลงที่เหมาะสมคือการปลูกพืชที่แข็งแรง ในสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์”


นั้น เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า หลักการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศน์ในไร่นาให้กลับมีชิวิต ชีวาพร้อมพรั่งดังเดิม หากยังเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผล ทั้งในทางปริมาณและคุณภาพเหนือกว่าเกษตรกรรมแผนใหม่ซึ่งเน้นวิทยาการขั้นสูง

แล้ววันนี้เราจะยังจะกลับไปพึ่งพิงสารเคมีที่ผลต่อการทำลายธรรมชาติอีกทำไม




ขอบคุณ  
1. http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=598:seubnews&Itemid=14

----------------------------
ลุงฟาง เกษตรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ
แนวคิดและหลักการเกษตรธรรมชาติ : แนวคิดเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ

     มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทยคือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติซึ่งมีหลักการสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การไม่กำจัดวัชพืช และการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผลในทางคุณภาพและปริมาณอีกด้วย

 มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยาสาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่าในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ

 ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกันทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง

 ทฤษฎีของฟูกูโอกะนี้เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยมุ่งเน้นวิธีการคลุมดิน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก เพราะการคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า

วิธีการทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ มีดังนี้

1.) ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล

2.) ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน

3.) ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน

4.) ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา

 ฟูกูโอกะเชื่อในการบำรุงรักษาดิน และการปล่อยให้สภาพแวดล้อมคงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันตามธรรมชาติออกจากกัน โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูกธัญญาหารของเราเท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนวิถีชีวิตค่านิยมของเราไปด้วย”

 การทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยที่เกษตรกรนั่งดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงมือปฏิบัติอะไรเลย แต่ตัวเกษตรกรเองจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำการเกษตรกรรมโดยประสานความร่วมมือกับธรรมชาติ มากกว่าพยายามที่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และเพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็นลง มีจุดมุ่งหมายของการทำการเกษตรไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต ฟูกูโอกะได้กล่าวว่า “การทำเกษตรกรรมด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน คือ วิธีดั้งเดินของเกษตรกรรม ซึ่งมนุษย์เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว”

ข้อดีและข้อจำกัดของการทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ

ข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย

ข้อจำกัด
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามาถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/272108


ขอบคุณ  
1. http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=598:seubnews&Itemid=14

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น