วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Ubunt Tweak Install


sudo add-apt-repository ppa:tualatrix/ppa
sudo apt-get update
sudo apt-get install ubuntu-tweak










วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ติดตั้ง Windows XP ด้วย USB Flash Drive



วันนี้จะมาแนะนำวิธีการลงวินโดว ผ่านทาง USB รับรองวิธีนี้ได้ผล 100% แต่ต้องเป็นเครื่องที่รองรับการ boot USB เท่านั้น โดยปกติแล้วเครื่องรุ่นใหม่ๆทีี่เพิ่งออกมาก็รองรับ boot USB ได้แล้ว การลงวินโดวผ่านทาง USB เร็วกว่าลงจากแผ่นอย่างมาก ท้ายบทความมีตัวอย่างการทดลองลงเครื่อง ASUS EEE PC 4G ด้วย
ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดโปรแกรม WinSetupFromUSB กันก่อน











วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การติดตัั้ง DaftSight AutoCAD Clone บน Ubuntu 64bit

การติดตัั้ง DaftSight AutoCAD Clone บน Ubuntu 64bit



สถานที่ Download - http://www.3ds.com/products/draftsight/download-draftsight/

 


หลังจากทำการดาวน์โหลดแล้ว เราจะได้ไฟล์ draftSight.deb ซึ่งปกติจะถูกเก็บไว้ที่


~/Home/Downloads/draftSight.deb






ให้ทำการคัดลอกไปไว้ที่
~/Home/draftSight.deb





dassault@systemes:~$ sudo apt-get install libdirectfb-extra libxcb-render-util0
dassault@systemes:~$ mkdir -p ~/temporal/ds/DEBIAN/
dassault@systemes:~$ dpkg-deb --control draftSight.deb ~/temporal/ds/DEBIAN/
dassault@systemes:~$ dpkg-deb --extract draftSight.deb ~/temporal/ds/
dassault@systemes:~$ sudo cp -r ~/temporal/ds/opt/* /opt
[sudo] password for dassault: 
dassault@systemes:~$ sudo cp -r ~/temporal/ds/var/* /var
dassault@systemes:~$ cd ~/temporal/ds/DEBIAN
dassault@systemes:~/temporal/ds/DEBIAN$ sudo ./preinst


dassault@systemes:~/temporal/ds/DEBIAN$
dassault@systemes:~/temporal/ds/DEBIAN$ sudo ./postinst

Set application as default for the user=dassault
Set application as default for the user=duser
Set application as default for the user=dassault
Set application as default for the user=duser
Set application as default for the user=dassault
Set application as default for the user=duser

dassault@systemes:~/temporal/ds/DEBIAN$ rm -rf ~/temporal/ds
dassault@systemes:~/temporal/ds/DEBIAN$ exit

หลังจากทำตามขั้นตอนนี้แล้ว Link ของ DraftSight ก็จะถูกเพิ่มเข้าเมนูเป็นที่เรียบร้อย

ในการรันโปรแกรมครังแรก DraftSight จะให้ลงทะเบียนโดยการป้อน e-mail ก็จัดไปตามคำขอ
ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ (ผมไม่ได้ Capture ภาพหน้าจอไว้ต้องขอโทษด้วยนะครับ)






ประมาณ 3-5 นาที Dassault ก็จะส่งเมล์ และลิ้งค์ Activate มาให้เรา ก็จัดไปอีกเช่นเคย



 จบแล้วจ้า



วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

android command


Change WiFi Name


sh-3.2# echo nDonix > /proc/sys/kernel/hostname
echo Donix054 > /proc/sys/kernel/hostname
sh-3.2#   >> Operation Completed






Move all Android applications to SD card without Rooting your phone.

C:\android\platform-tools>adb device >> check connection ok or not* daemon not running. starting it now on port 5037 *
* daemon started successfully *
List of devices attached
DeviceMcAdd    device   >> connection ok


C:\android\platform-tools>adb shell

sh-3.2# pm setInstallLocation 2
pm setInstallLocation 2
sh-3.2#   >> Operation Completed

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Huawei Ideos U8150 - ROM flashing


Installing a Custom ROM

This is a guide detailing the process of how to install a Custom ROM on a Huawei Ideos U8150.
To download all of the necessary software you MUST have a XDA account.
Sign up for one at http://forum.xda-developers.com/register.php.
Note: The only way you can brick your device is if you don’t follow my instructions.
Part 1, 2 and 3 should not wipe or damage your device in any way.

Part 1 – Rooting your Ideos

This is easily done using a program called Z4Root.
Download it here(must be signed in).
Connect your Ideos to the computer and turn on USB storage.
Move the file you just downloaded onto your device.
Disconnect your phone from the computer.
Check unknown sources in the Application menu in settings.
Using a file manager (Astro or ES), tap on the file and click “Open app manager”.
Install and then open Z4Root, click Permanent Root.
Follow prompts.
Make sure the device is definitely rooted before proceeding to the next step (Open Z4Root again).

Part 2 – Installing a Custom Recovery

We are going to be using a Custom Recovery called Ultrajack.
Download it here.
Extract the folder.
Put your phone into bootloader mode.
To do this, turn off your phone.
Then quickly press the power button, the down volume key and the end call key.
Hold it for 5 seconds.
It will be stuck on the Ideos screen, this is normal.
Now, plug your phone in the computer.
It SHOULD install the necessary drivers (at least mine did with Win 7) but if it doesn't, download the PDAnet driver from here and install it.
Then go to the Folder you extracted and click “install recovery windows”.
If it installed, it should reboot of its own accord.
Note: when you turn it back on, it seems to freeze. Just be patient, it will load.

Part 3 – Backing up your Ideos

Now we are going to back up your device using Nandroid.
This will make an image of your phone.
Firstly, make sure the phone is turned off.
Then press the power button, the volume up key, and the start call key and hold it for 5 seconds.
A screen should appear on your Ideos that has the Huawei logo as a background.
Use the D-Pad under the screen to move between options.
Use volume down to go back.
Now select Backup/Restore.
Select Nand Backup.
Select Perform Backup
Confirm by pressing middle button in D-Pad.
The backup should take a few minutes.
After the backup is complete, go back to the main menu (via the Volume Down Key) and select "reboot system now".
If you would like to backup and restore individual apps as well as backing up your previous ROM download Titanium Backup in the Android Market.

Part 4 – Flashing a ROM

OK, so this is the final step.
Download the ROM of your choice.
Popular ones include:
FUSIONideos (Latest build is 1.9.8, with Multi Touch, CPU clocking etc. etc.)
DJDroid
Ideos Super Clean
IDT ROMs
Cyanogen 6 Port
I suggest you check out all of the threads before making a decision.
Some of these ROMs may differ when it comes to installation.
It is always recommended that you carefully read through the dev's post and comments about their ROM.
After you have downloaded the zip file from one of those threads, move the zip file onto your phone using the same procedure.
Shut down your phone.
Follow same procedure to get to the Custom Recovery as outlined in Part 3.
When the Custom recovery has loaded, select Flash zip from sdcard.
Select choose zip from sdcard.
Select the zip file you moved onto your phone.
Confirm choice.
Now your phone is being flashed with your ROM, it's going to take a few minutes.
When it's done, go back to the main menu and restart your Ideos.
It should take a while to first start.
Setup your phone
Notes
If you backed up your apps using Titanium Backup, after you have set up your phone install Titanium Backup again and restore your apps.
Also, if you fail to flash the ROM the first time, try again.
If you have any questions, ask them in the Huawei Ideos thread (link above)
Also check out the XDA wiki here
Guide compiled by AndytheAndroid
spacial thank
http://whirlpool.net.au/wiki/huawei_u8510
https://sites.google.com/site/ubuntu4us/artigos/android/android-rom-e-firmwares/huawei-ideos-u8150

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

ราคา สายไฟฟ้า Bangkok Cable, Thai Yazaki

ราคา สายไฟฟ้า Bangkok Cable, Thai Yazaki
อัพให้ตามคำเรียกร้องครับ อัพรอบที่ 2 รอบแรกหายเกลี้ยง T T ราคาจะรีบลงให้ครับ
ราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคาทองแดงในตลาดโลก ลงไว้เป็นราคาตั้ง
ต้อง บวกเพิ่มไปอีก 70-80% (โดยประมาณ) ขึ้นอยู่กับระยะทาง สถานที่ซื้อด้วย
ราคาในอนาคต จะลดหรือเพิ่มขึ้น ก็ปรับแค่เปอร์เซนต์ (ราคาตั้งเท่าเดิม)

เกรดสายไฟฟ้า
Thai Yazaki (ไทยยาซากิ) สายค่อนข้างแข็ง ใช้เยอะในเขตกรุงเทพฯ
Bangkok Cable (บางกอกเคเบิ้ล) สายอ่อนกว่า ช่างไม่เจ็บมือ ใช้มากในต่างจังหวัด
สายไฟอย่างถูก ราคาไม่ได้ต่างกันมากมาย เพราะส่วนประกอบหลักคือทองแดงเหมือนกัน เช่นยี่ห้อ Thai Unian (ไทยยูเนี่ยน), สแตนดาร์ด, เนชั่น, เหรียญทอง ฯ

ความหมายของสเปค (Spec)
VAF 2x1.5 หรือ VAF 2*1.5=ชนิดสาย VAF, 2 แกน(เส้น,core), พื้นที่หน้าตัด 1.5 ตร.มม.
THW 1.5 sq.mm. = ชนิดสาย THW ขนาดพื้นที่หน้าตัด 1.5 ตร.มม. เป็นสายเส้นเดียว





สาย VAF (สาย วีเอเอฟ)
สายทองแดง หุ้มฉนวน 2 ชั้น ชนิด 2 เส้นคู่

สำหรับงานตีกิ๊ป เดินลอย (ไม่ได้ร้อยท่อ)
VAF 2x1.0 sq.mm. ราคาตั้ง 4.30 บาท/เมตร
VAF 2x1.5 sq.mm. ราคาตั้ง 6.10 บาท สำหรับ หลอดไฟ
VAF 2x2.5 sq.mm. ราคาตั้ง 9.70 บาท
สำหรับ ปลั๊กไฟ, สำหรับแอร์ไม่เกิน 12,000 BTU/H (โดยประมาณ)

ใช้งาน สายเมนบ้านพักอาศัย
VAF 2x4 sq.mm. ราคา 15.40 บาท มิเตอร์ไฟฟ้า 5(15A), สายเมนเครื่องทำน้ำอุ่น
VAF 2x6 sq.mm. ราคา 22.70 บาท สำหรับ มิเตอร์ไฟฟ้า 10(30A)
VAF 2x10 sq.mm. ราคา 35.00 บาท สำหรับ มิเตอร์ไฟฟ้า 15(45A)
VAF 2x16 sq.mm. ราคา 52.00 บาท





สาย VAF-G (สาย วีเอเอฟ-จี)
เป็นสายทองแดง หุ้มฉนวน 2 ชั้น ชนิด 3 เส้น เป็นสายกราวด์ สีเขียว 1 เส้น
VAF 2x2.5/1.5 sq.mm. ราคา 24.20 บาท/เมตร สำหรับ เดินปลั๊กไฟ ชนิดมีกราวด์
VAF 2x4/2.5 sq.mm. ราคา 34.80 บาท/เมตร






สาย THW (สาย ทีเอชดับบลิว)
สายทองแดง หุ้มฉนวน 1 ชั้น เส้นเดียว เดี่ยวๆ
รายละเอียดการใช้งานเหมือนสาย VAF ด้านบน แต่ใช้สำหรับเดินท่อ ร้อยสาย ฝังท่อ

THW. 1.0 sq.mm. ราคาตั้ง 3.30 บาท/ม.
THW. 1.5 sq.mm. ราคาตั้ง 4.20 บาท
THW. 2.5 sq.mm. ราคาตั้ง 5.98 บาท
THW. 4 sq.mm. ราคาตั้ง 9.03 บาท
THW. 6 sq.mm. ราคาตั้ง 14.81 บาท
THW. 10 sq.mm. ราคาตั้ง 23.62 บาท
THW. 16 sq.mm. ราคาตั้ง 36.04 บาท
THW. 25 sq.mm. ราคาตั้ง 54.91 บาท
THW. 35 sq.mm. ราคาตั้ง 77.70 บาท
THW. 50 sq.mm. ราคาตั้ง 112.25 บาท
THW. 70 sq.mm. ราคาตั้ง 149.43 บาท
THW. 95 sq.mm. ราคาตั้ง 201.89 บาท






สาย TWA (สาย ทีดับบลิวเอ)
สายอลูมิเนียม หุ้มฉนวน 1 ชั้น เป็นเส้นเดียว เดี่ยวๆ
ราคาถูกกว่าสายทองแดง แต่รับกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่า

สำหรับเป็นสายเมนบ้านพักอาศัย
ขนาด 10 sq.mm. ราคา 5.60 บาท/เมตร สำหรับ มิเตอร์ไฟฟ้า 5(15A)
ขนาด 16 sq.mm. ราคา 7.90 บาท สำหรับ มิเตอร์ไฟฟ้า 10(30A)
ขนาด 25 sq.mm. ราคา 11.60 บาท สำหรับ มิเตอร์ไฟฟ้า 15(45A)
ขนาด 35 sq.mm. ราคา 15.30 บาท
ขนาด 50 sq.mm. ราคา 21.50 บาท
ขนาด 70 sq.mm. ราคา 28.60 บาท
ขนาด 95 sq.mm. ราคา 38.70 บาท






สาย NYY (สาย เอ็นวายวาย)
สายทองแดง หุ้มฉนวน 3 ชั้น มีตั้งแต่ 1-4 เส้น (ตามรูป คือ 2 เส้น(core, แกน)
ใช้งาน ไฟสนาม, ไฟถนน, สายเมนบ้านพัก กรณีร้อยท่อฝังดิน ฝ่านมาตรฐานการไฟฟ้าฯ
สำหรับเป็นเมนบ้านพักอาศัย รายละเอียดเหมือนสาย VAF และ THW

1 แกน
NYY 1.5 sq.mm. ราคา 13.75 บาท/เมตร
NYY 2.5 sq.mm. ราคา 16.05 บาท/เมตร
NYY 4 sq.mm. ราคา 21.66 บาท/เมตร
NYY 6 sq.mm. ราคา 32.35 บาท/เมตร
NYY 10 sq.mm. ราคา 38.80 บาท/เมตร
NYY 16 sq.mm. ราคา 52.80 บาท/เมตร
NYY 25 sq.mm. ราคา 73.14 บาท/เมตร

2 แกน
NYY 2x1.5 sq.mm. ราคา 26.50 บาท/เมตร
NYY 2x2.5 sq.mm. ราคา 31.70 บาท/เมตร
NYY 2x4 sq.mm. ราคา 44.85 บาท/เมตร
NYY 2x6 sq.mm. ราคา 62.15 บาท/เมตร
NYY 2x10 sq.mm. ราคา 87.98 บาท/เมตร
NYY 2x16 sq.mm. ราคา 124.55 บาท/เมตร
NYY 2x25 sq.mm. ราคา 183.15 บาท/เมตร

3 แกน
NYY 3x1.5 sq.mm. ราคา 30.25 บาท/เมตร
NYY 3x2.5 sq.mm. ราคา 37.10 บาท/เมตร
NYY 3x4 sq.mm. ราคา 53.35 บาท/เมตร
NYY 3x6 sq.mm. ราคา 76.95 บาท/เมตร
NYY 3x10 sq.mm. ราคา 112.90 บาท/เมตร
NYY 3x16 sq.mm. ราคา 165.80 บาท/เมตร
NYY 3x25 sq.mm. ราคา 240.34 บาท/เมตร

4 แกน
NYY 4x1.5 sq.mm. ราคา 34.85 บาท/เมตร
NYY 4x2.5 sq.mm. ราคา 43.45 บาท/เมตร
NYY 4x4 sq.mm. ราคา 64.20 บาท/เมตร
NYY 4x6 sq.mm. ราคา 93.90 บาท/เมตร
NYY 4x10 sq.mm. ราคา 143.29 บาท/เมตร
NYY 4x16 sq.mm. ราคา 210.19 บาท/เมตร
NYY 4x25 sq.mm. ราคา 307.91 บาท/เมตร






สาย VCT (สาย วีซีที)
สายทองแดง หุ้มฉนวน 2 ชั้น มีตั้งแต่ 1-4 เส้น (ตามรูป คือ 2 เส้น)
ใช้งานเดินสายอุปกรณ์ไฟฟ้า, เครื่องจักรต่างๆ, ไฟสนาม, ทำสายปลั๊กพ่วง, เดินสายภายนอกอาคาร, ไฟรั้ว, งานที่ต้องทนสภาพแดด ฝน

2 แกน
VCT 2x1.5 sq.mm. ราคา 18.00 บาท/เมตร
VCT 2x2.5 sq.mm. ราคา 31.66 บาท/เมตร
VCT 2x4 sq.mm. ราคา 45.17 บาท/เมตร
VCT 2x6 sq.mm. ราคา 63.42 บาท/เมตร

3 แกน
VCT 3x1.5 sq.mm. ราคา 24.95 บาท/เมตร
VCT 3x2.5 sq.mm. ราคา 39.28 บาท/เมตร
VCT 3x4 sq.mm. ราคา 57.01 บาท/เมตร
VCT 3x6 sq.mm. ราคา 83.55 บาท/เมตร

4 แกน
VCT 4x1.5 sq.mm. ราคา 32.30 บาท/เมตร
VCT 4x2.5 sq.mm. ราคา 50.43 บาท/เมตร
VCT 4x4 sq.mm. ราคา 72.51 บาท/เมตร
VCT 4x6 sq.mm. ราคา 106.58 บาท/เมตร






สาย VFF (สาย วีเอฟเอฟ)
สายทองแดงฝอย หุ้มฉนวน 1 ชั้น มีตั้งแต่ 1-3 เส้น (ตามรูป คือ 2 เส้น) (สายอ่อน)
การใช้งาน สายปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น สายพัดลมตั้งพื้น

VFF = 2 เส้น
VFF 2x0.5 sq.mm. ราคาตั้ง 3.81 บาท/เมตร
VFF 2x1 sq.mm. ราคา 6.38 บาท/เมตร
VFF 2x1.5 sq.mm. ราคา 8.45 บาท/เมตร
VFF 2x2.5 sq.mm. ราคา 11.62 บาท/เมตร

VFF-G = 3 เส้น
-






สาย VSF (สาย วีเอสเอฟ)
สายทองแดงฝอย หุ้มฉนวน 1 ชั้น เป็นสายเส้นเดียว เดี่ยวๆ (สายอ่อน)
การใช้งาน เดินสายภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ, เดินระบบควบคุมไฟฟ้าโรงงาน

0.5 sq.mm. ราคา 231 บาท/ม.
1 sq.mm. ราคา 356 บาท/ม.
1.5 sq.mm. ราคา 449 บาท/ม.
2.5 sq.mm. ราคา 674 บาท/ม.
4 sq.mm. ราคา 994 บาท/ม.



วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (พระครูพิพัฒน์นโรธกิจ วัดมงคลโคธาวาส)







ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (พระครูพิพัฒน์นโรธกิจ วัดมงคลโคธาวาส)








........หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (ความจริง ”เหี้ย” นี่เป็นชื่อของสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์หนึ่ง แต่คนนำมาใช้ด่าว่ากัน จึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป)




เนื่องจากท่าน ได้ล่วงลับมาเป็นเวลานาน และท่านไม่ได้เล่าถึงชีวิตในอดีตของท่านให้ลูกศิษย์ทราบ




ข้อมูลชีวประวัติของท่านจึงมีน้อย ทราบเพียงว่า "ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน"




ตาเป็นคนจีนชื่อเขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อตาล เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น




........ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือไทย




หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพทำจาก




และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก




........ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก




หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร




ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคม




จากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียง รู้ว่าอาจารย์ที่ไหนดี ท่านก็บุกไปจนถึงเพื่อขอศึกษาอาคมกับอาจารย์นั้น




ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่มีความยากสำหรับท่าน เมื่อมีความชำนาญ




แคล่วคล่องในเวทย์มนต์ ก็ทำให้เกิดความขลัง ความรู้ความสามารถก็ทวีเป็นเงาตามตัว




........ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัด หลวงพ่อปานฯ กับหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง




จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ




จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งพร้อมกัน (ไม่ทราบชื่อ และสำนักของอาจารย์ท่านนั้น)




ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนถึงขั้นทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร หรือในโหลให้เอาไม้พาดไว้




ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หรือจากโหลหายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้




ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตร




เข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง




ก็ต้องพักจากการเรียนเสือ ก็หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จเมื่อได้วิทยาคมนี้




........ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมาก




ในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็เป็นอาจารย์




ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้ นอกจากนี้หลวงพ่อปานฯ




ยังเป็นหัวหน้าสายรุกขมูล และสอนกรรมฐานอันลือชื่อ การออกธุดงควัตร ท่านจะเป็นอาจารย์




ควบคุมพระเณร เช่นเดียวกับหลวงพ่อนก วัดสังกะสีซึ่งเป็นคณะธุดงค์อีกสายหนึ่ง ทั้งสองสาย




มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น หลวงพ่อปานนำพระเป็นร้อยรูป บางปีก็ถึงห้าร้อย พระกรรมฐานสองสายนี้




มีชื่อเสียงมาก่อนกรรมฐานสายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น เนื่องจากหลวงพ่อปานมีอาคมขลัง




มีสมาธิจิตเข้มแข็ง เวลาออกรุกขมูลพักปักกลดอยู่ในป่า ตอนกลางคืนเดือนหงายๆ ท่านมักจะลองใจศิษย์




เนรมิตกายให้เป็นงูใหญ่ เลื้อยผ่านหมู่ศิษย์ไปบ้าง ทำเป็นเสือโคร่งเดินผ่านกลดศิษย์ไปบ้าง เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เนื่องจากหลวงพ่อปานได้ศึกษาวิทยาคม ในการสร้างเสือมาโดยสมบูรณ์แบบ ท่านก็เริ่มสร้างแจกจ่ายให้กับประชาชนแถวย่านบางเหี้ยก่อน ที่วัดจึงต้องต้อนรับประชาชน ที่พากันหลั่งไหลเข้าสู่วัดบางเหี้ยเพื่อรับแจกเสือ ตอนแรกคนแกะเสือก็มีเพียงคนเดียว ต่อมาต้องเพิ่มคนแกะเรื่อยๆ จนถึง ๔ คน และมากกว่านั้น แต่ที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ ๔ คน ใครต่อใครก็พากันกล่าวขวัญว่า “เสือหลวงพ่อปาน” แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ยังรู้จัก และในสมัยนั้นไม่มีใครทำเลียนแบบ สำหรับหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยนั้น ท่านแก่กว่าหลวงพ่อปานวัดบางนมโค ๔๐ ปี และในจังหวัดสมุทรปราการ มีหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ดังมากอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อปานเมื่อออกรุกขมูล พระเณรก็จะนำเอาเสือที่ปลุกเสกแล้วติดไปแจกประชาชนด้วย ปรากฏว่าเสือของท่านมีประสบการณ์ในทางอำนาจ และคงกระพันยอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยม ค้าขายของก็ได้ผล พ่อค้าแม่ค้ามักจะไปขอเสือหลวงพ่อกันวันละมากๆ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านจึงแพร่หลายโดยรวดเร็ว ยิ่งมีผู้รู้เห็นพิธีปลุกเสก เสือวิ่งในบาตรเสียงดังกราวๆ ก็ยิ่งทำให้ประชาชนแห่แหนมารับแจกเสือกันไม่ขาดระยะ นอกจากนี้ จีนเฉย (อาแป๊ะเฉย) ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน ถึงกับไปค้างที่วัดเป็นประจำ วันหนึ่งแกก็ไปที่วัดเช่นเคย แต่เอาหมูดิบๆ ไปด้วย เวลาดึกสงัดหลวงพ่อปลุกเสือแกก็เอาหมูแหย่ลงไปในบาตร ปรากฏว่าเสือติดหมูขึ้นมาเป็นระนาว แกยังสงสัยว่าแกจิ้มแรงจนเสือติดหมูออกมา ตอนหลังพอหลวงพ่อปลุกเสกจนเสือวิ่งในบาตร แกก็เอาหมูผูกกับไม้ แล้วชูหมูไว้เหนือบาตร ปรากฏว่าเสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู เหนือขอบปากบาตร จีนเฉยซึ่งเห็นกับตาตนเองก็นำไปเล่า จนข่าวเสือกระโดดกัดหมู เสือวิ่งในบาตร เสือกระโดดได้ แพร่สะพัดไปราวกับลมพัด ประชาชนต่างก็เห็นเป็นอัศจรรย์ หลวงพ่อกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมัยก่อนมีแม่น้ำอยู่สายหนึ่ง ซึ่งไหลผ่านป่าดงพงพีมีต้นน้ำอยู่แปดริ้ว มาลงทะเลที่สมุทรปราการ ทุกครั้งที่น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มจะทะลักเข้าไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทำให้ชาวบ้านในย่านนั้นได้รับความลำบาก สิ่งที่ไหลขึ้นมาตามน้ำคือตัวเหี้ย ตะกวด และจระเข้ จนต้องมีการทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อมิให้น้ำเค็มจากทะเลไหลขึ้นไปปนกับน้ำจืด และเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานที่มีอยู่ชุกชุม มิให้แพร่หลายไปตามคลองต่างๆ ด้วยเหตุที่มีสัตว์พวกนี้ชุกชุม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางเหี้ย” และคลองบางเหี้ย วัดก็ตั้งชื่อว่า วัดบางเหี้ย มี ๒ วัดคือวัดบางเหี้ยนอก กับวัดบางเหี้ยใน ประตูที่กั้นคลองนั้น มีชื่อเรียกกันปัจจุบันว่า “ประตูน้ำชลหารวิจิตร” ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ประตูน้ำเกิดชำรุด ต้องทำการซ่อมแซมหลายครั้ง เมื่อแล้วเสร็จได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคลองบางเหี้ย ปรากฏว่าทรงประทับอยู่ที่คลองด่านถึง ๓ วัน บรรดาชาวบ้านที่อยู่ในแถบถิ่น บางบ่อ บางพลี บางเหี้ย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อรู้ข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวฯจะเสด็จมาเปิดประตูน้ำ ต่างก็พากันเตรียมของที่จะถวาย หลวงพ่อปานได้นำเขี้ยวเสือ ที่แกะอย่างสวยงามใส่พาน แล้วให้เด็กป๊อดซึ่งเพิ่งจะมีอายุ ๗-๘ ขวบหน้าตาดี เดินถือพานที่ใส่เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ ตามหลังท่านไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ริมคลองด่าน เมื่อไปถึงที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กผู้ติดตาม แต่เด็กคนนั้นบอกกับท่านว่า “เสือไม่มีแล้ว เพราะมันกระกระโดดน้ำไปในระหว่างทางจนหมดแล้ว” หลวงพ่อปานจึงได้เอาชิ้นหมูที่ทำขึ้นจากดินเหนียว แล้วเสียบกับไม้ แกว่งล่อเอาเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงตรัสว่า “พอแล้วหลวงตา” หลังจากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ผู้ปลุกเสกเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ทูลว่าท่านชื่อปาน (ติสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า “ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้” แล้วรับสั่งถามว่า “ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?” หลวงพ่อปานทูลตอบว่า “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น”อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้ โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตร และผ้ากราบ (ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”) พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า “พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้วคุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ (น่าจะหมายความว่า พอปลุกเสกได้ที่เสือจะกระโดดกัดเนื้อหมู เป็นอันใช้ได้น่ะครับ) ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด" จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (ในสมัยนั้น กาแฟถ้วยละ ๑ สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๓ สตางค์ ข้าวผัดจานละ ๕ สตางค์) หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ก่อนที่ท่านจะเสด็จกลับเมืองหลวง พระองค์มีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า “ฟ้าไปก่อน แล้วให้พระท่านไปทีหลัง” พระราชดำรัสนี้ทำให้ทุกคนพิศวง เพราะไม่เข้าใจความหมาย (ยกเว้นหลวงพ่อฯ) แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี พระองค์ท่านก็เสด็จสวรรคต และต่อจากนั้นไม่ถึงปี หลวงพ่อปานก็มรณภาพลงเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะรู้ด้วยญาณ ว่าท่านและหลวงพ่อปานคงถึงเวลาที่จะละสังขารแล้ว บุญญาภินิหารของหลวงพ่อหลวงพ่อปานท่านเป็นผู้มีความเมตตา ปรานี และมีวาจาสิทธิ์ จนเป็นที่ยำเกรงแก่ประชาชนทั่วไป บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะพยายามปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะกลัวหลวงพ่อว่าตนไม่ดี แล้วจะไม่ดีตามวาจาสิทธิ์ของท่าน กอปรกับท่านมีเจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณ อาทิเช่นครั้งหนึ่งท่านเตรียมจะออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนมากจากวัดต่างๆ พระทั้งหลายจะต้องเข้ามาหาหลวงพ่อ เพื่อรายงานตัวก่อน ถ้าท่านไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้ ในครั้งนั้นมีพระอยู่องค์หนึ่ง ชื่อพระผิว หลวงพ่อได้เรียกเข้ามาหา และบอกว่า “คุณเก็บบาตร เก็บกลด กลับวัดไปเถอะ” พระผิวเสียใจเป็นอย่างยิ่งถึงกับร้องไห้ หลวงพ่อปานจึงกล่าวกับพระผิวว่า “อย่าเสียใจไปเลยคุณ กลับไปวัดเถอะ เดินทางไปกับหลวงพ่อมันลำบากมาก องค์อื่นท่านแข็งแรง หลวงพ่อกลัวคุณจะลำบากจึงให้กลับไปก่อน” พระผิวจึงจำใจกลับ หลังจากพระผิวกลับมาถึงวัดได้ ๒ วันเท่านั้นท่านก็เป็นไข้ทรพิษ และมรณภาพลงในที่สุด การเดินธุดงค์นั้น ท่านมักจะให้ศิษย์ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อนทุกคราว แต่พอถึงจุดนัดหมาย หลวงพ่อจะไปคอยอยู่ข้างหน้าก่อนเสมอ หลวงพ่อปานท่านเป็นพระที่เคร่งครัดเอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ไม่มีการเอนเอียงไปทางใดเลย การทำกรรมฐาน ท่านให้นั่งพิจารณาธาตุ เพ่งสิ่งต่างๆ เช่น ไฟเทียน น้ำในบาตร ปฐวีธาตุ จนพลังใจแก่กล้ามั่นคง และฝึกสติโดยการให้เดินจงกรม เมื่อฝึกจิตจนได้ที่แล้วท่านจึงจะสอนวิชาเคล็ดลับต่างๆ ให้ มีทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม และวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนนี้ก็เพื่อรู้ เรียนไว้เพื่อแก้ และเพื่อป้องกันตัว (เวลาออกธุดงค์) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น ในการไปเดินธุดงค์คราวหนึ่ง ท่านไปได้หินเขียววิเศษ เป็นวัตถุสีเขียว แวววาวมาก โตขนาดเมล็ดถั่วดำ และข้างๆ หินนี้ มีเต่าหินที่สลักด้วยหินทรายสีออกน้ำตาลแดงเล็กน้อย หลวงพ่อปานท่านนิมิตเห็นสิ่งนี้ก่อนท่านจะออกธุดงค์ ของวิเศษนั้น หลวงพ่อปานไม่เคยเปิดเผยกับใคร ท่านนำไปไว้ยังศาลที่ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด ที่ศาลนี้มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ใครไปมาผ่านศาลก็จะกราบไหว้พระพุทธรูป และจะเห็นเต่าศิลาตัวนั้น แต่บางคราวเต่านั้นก็หายไป และก็น่าแปลกที่หลวงพ่อปานก็จะไม่อยู่ด้วยทุกครั้ง ทุกคนเข้าใจว่าท่านไปธุดงค์ในป่า แต่ทำไมจะต้องนำเต่าหินนั้นไปด้วยเพราะทั้งหนัก และต้องลำบากดูแลรักษา เรื่องนี้ใครๆ ไม่สนใจ แต่สามเณรน้อยองค์หนึ่งสนใจ และคอยแอบดูอยู่ ว่าเต่าหายไปไหนใครพามันไป ทั้งๆ ที่หนักมาก สามเณรน้อยนี้มีความพยายามมาก ท่านคอยซ่อนตัวแอบดูเต่าหินนั้น ซึ่งบัดนี้มีดวงตาเป็นหินสีเขียว โดยหลวงพ่อปานท่านลองใส่เข้าไปตรงดวงตาเต่าก็เข้ากันได้พอดี อย่างไรก็ตามความพยายามของสามเณร หลวงพ่อท่านก็ทราบโดยตลอด ต่อมาเป็นวันข้างแรมเดือนดับ สามเณรก็ยังมาคอยดูอยู่เช่นเคย ทันใดนั้น! เณรน้อยก็ตกตะลึงตัวชาอยู่กับที่ เพราะเต่าหินกำลังเคลื่อนไหวคลานออกจากศาล และลอยไปในอากาศ เรียกว่าเต่าหินเหาะก็ไม่ผิด สามเณรพยายามข่มตาไม่ยอมหลับนอน ทนไว้เพื่อจะได้ดู ตอนเต่าหินกลับมา เวลาล่วงเลยไปจนถึงประมาณตี ๔ เณรน้อยก็ต้องอัศจรรย์ใจอีกครั้ง เพราะเต่าหินนั้นได้เหาะกลับมา และคลานกลับไปอยู่ที่เดิม สามเณรนั้นเดินไปสำรวจเต่าหินดู ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นหินที่เขาสลักมาจากหินทราย ถ้าไม่ใช่ของกายสิทธิ์จะคลานแล้วลอยไปในอากาศได้อย่างไร หลวงพ่อปานท่านคอยดูความมานะ อดทนตลอดจนปัญญาไหวพริบของสามเณรน้อยลูกศิษย์ท่านอยู่เงียบๆ จากการสังเกตเฝ้าดู เณรน้อยพบว่าเต่าหินนี้จะเหาะไป และกลับตอนตี ๔ ทุกๆ วันแรม ๑๕ ค่ำ ในที่สุดเณรน้อยก็ตัดสินใจ ท่านครองผ้าอย่างทะมัดทะแมง เตรียมตัวจะไปผจญภัยกับเต่าหิน เมื่อถึงเวลา เต่าหินก็ค่อยๆ คลานลงมาจากศาล สามเณรก็ปราดออกจากที่ซ่อน กระโดดเกาะเต่าหินนั้นไว้ เมื่อเต่าหินค่อยๆ ลอยขึ้นสามเณรก็กอดไว้แน่นด้วยใจระทึกเพราะเกรงจะตกลงไป ในที่สุดก็มาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่แห่งใด มองไปรอบๆ ตัวพบกับแสงสว่างเย็นตาน่ารื่นรมย์ เต่าหินค่อยๆ ลอยต่ำลง เมื่อถึงพื้นดินก็ตรงไปยังป่าไผ่ กินหน่อไผ่อย่างไม่รู้จักอิ่ม สามเณรก็ไม่กล้าลงจากหลังเต่า เพราะเกรงถูกทิ้งไว้ ได้แต่รั้งหักหน่อไม้มาได้หน่อหนึ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ไม่ได้ฝันไป ได้มาอยู่บนเกาะนี้จริงๆ เต่าหินนั้นกินอยู่พักหนึ่ง ก็เหาะกลับแต่ขณะที่เดินทางนั้น สามเณรไม่สามารถกำหนดจดจำทิศทางได้เลย เมื่อกลับมาที่วัด เต่าหินก็กลับไปประจำที่ ส่วนเณรน้อยก็ถือหน่อไม้เข้ากุฏิไป หลวงพ่อปานท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าเรื่องเต่าหินวิเศษนี้จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท่านจึงได้นำดวงตาอันเป็นหินสีเขียวสดใสนั้นออกเสีย เพื่อเต่าศิลาจะได้ไม่สามารถเหาะไปเที่ยวได้อีก (ท่านคงพิจารณาแล้วว่า ถ้าเรื่องถูกแพร่งพรายออกไปคงจะเกิดความวุ่นวาย และสามเณรนั้นคงจะทดลองเกาะเต่าไปเที่ยวอีก และอาจเกิดอันตราย กระผมเข้าใจว่า หลวงพ่อท่านสามารถควบคุมเต่าได้ และสามารถเกาะหลังเต่าไปในที่ต่างๆ ได้ ตามที่ท่านปรารถนา) ปัจจุบันเต่าหินตัวนี้ ยังปรากฏอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง (เรื่องเต่าหินเหาะได้นี้ ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ศิษย์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นผู้ทรงอภิญญาเช่นเดียวกัน เป็นผู้เล่าให้ฟัง) เนื่องจากหลวงพ่อปานฯ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ ท่านจึงชอบธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งท่านก็ไปองค์เดียว คราวหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ไปถึงวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงวัด ท่านเจ้าอาวาสกำลังขึงกลองเพลอยู่ ท่านเห็นดังนั้นก็ลงมือช่วยเหลือทันที พอเสร็จเรียบร้อย สมภารท่านก็นิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นไปคุยกันบนกุฏิ ขณะที่คุยกันอยู่มือของท่านสมภารก็ปั้นลูกดินกลมๆ อยู่ในมือ สักครู่หนึ่งท่านสมภารก็โยนลูกดินนั้นขึ้นไปบนอากาศ กลายเป็นม้าตัวหนึ่ง กับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไล่จับเหยี่ยวอยู่บนท้องฟ้า หลวงพ่อปานเห็นดังนั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร เมื่อท่านลงจากกุฏิของท่านสมภารแล้ว ท่านได้พูดกับพระในวัดนั้นว่า “โดนลองดีเข้าให้แล้ว” พอพูดจบท่านก็หยิบผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าท่านอยู่ นำมาม้วนแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าผ้านั้นได้กลับกลายเป็นกระต่ายหลายตัว วิ่งอยู่ในลานวัด ใครจะจับก็จับไม่ได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านจะออกเดินธุดงค์ ท่านมักจะมุ่งหน้าไปทาง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีเสมอ เพราะในย่านนั้นเต็มไปด้วยพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ท่านปรารถนาจะเรียนในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ท่านเล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ท่านเก่งเรื่องจิต ท่านแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ท่านได้เคยเล่าถึงสรรพคุณของเต่าวิเศษที่พาท่านไปในเมืองลับแล ซึ่งเป็นภพซ้อนภพกันอยู่นี่ ได้ไปพบกับสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง พอเป็นคติเตือนใจ ครั้นเมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้เคร่งครัดการปฏิบัติกรรมฐานของท่านอย่างหนัก โดยไม่ปล่อยกาลเวลาให้ผ่านพ้นไป ท่านตระหนักดีว่า ชีวิตของท่านนั้นสั้นนัก ควรจะเร่งรีบภาวนา ทำจิตให้มีกำลัง มีสมาธิ และมีปัญญาติดตัวไว้ อุบายธรรมของท่าน ก็คือการพิจารณา สภาวธรรมความจริงแห่งวัฏฏะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความทุกข์ความวุ่นวาย เกิดเพราะจิตเข้าไปยึดมั่น จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การระงับดับเหตุทั้งปวง ย่อมต้องระงับดับที่ใจ เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ท่านมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะอันหมุนวนไม่รู้จักจบ” ก่อนที่หลวงพ่อปานจะมรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่กล้าพูดกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อเป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้ ด้านความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบ เสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที เมื่อท่านถึงมรณภาพไปแล้วจึงร่วมกันประกอบพิธีนมัสการรูปหล่อของท่าน รูปหล่อดั้งเดิมของท่าน ปัจจุบัน อยู่ที่มณฑปวัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูลจากเวป พระรัตนตรัย กระดานสนทนาธรรม ......ขอบคุณมากครับ








จากหนังสือวัดมงคลโคธาวาส พิมพ์เป็นอนุสนรณ์ในงานณาปรกิจศพ นายเจ่ม สวัสดี 30 มีนาคม 2502








.......วัดมงคลโคธาวาสสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 (ตามคำบอกเล่าของ หลวงพ่อสาย ศิษย์หลวงพ่อปาน)




โดยตระกูลหลวงพ่อปานริเริ่มสร้างพร้อมด้วยชาวบ้านประชาชนที่มีจิตศรัทธา เนื่องด้วย การทำบุญสมัยก่อน




ต้องไปวัดอื่นที่ไกลจากหมูบ้าน เช่น วัดสร่างโศก หรือวัดโคธาราม จึงดำริสร้างวัดที่ในละแวกบ้านตน




สมัยก่อนประตูน้ำยังไม่สร้าง ถนนก็ยังไม่พัฒนา มีบ้านคนเพียงกลุ่มๆ บริเวณนี้เป็นที่ลุ่ม




เวลาน้ำทะเลขึ้นจะท่วมเต็มลานวัดไปหมด บางครั้งต้องทำสะพานยาวๆ เดินไปวัดวัดสร้างปีใด




ใครเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ไม่มีใครทราบ มาสืบได้อีกทีสมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส




สมัยนี้มีพระเถระที่ทรงคุณวุฒิ ดังนี้




1.หลวงพ่อปาน ( ต่อมาเป็นพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ)




2.หลวงพ่อเรือน (เคยเป็นอุชณาย์ที่วัดนี้)




3.หลวงพ่อล่า (เป็นหมอผี หมอน้ำมนต์)




4.พระอาจารย์อิ่ม (อาจารย์สอนวิปัสสนาและอาจารย์ธุดงค์ เป็นผู้สร้างพระผงหลวงพ่อปานถวาย)




5.หลวงพ่อทอง (ต่อมาเป็นพระครูสุทธิรัตน์ เจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อถัน)




6.หลวงพ่อลาว (มรณะแล้วไม่เน่าเปื่อย)




7.พระอาจารย์บัว




8.สมุห์นิ่ม สมัยเป็นสามเณร





การปกครอง




.......ในสมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส ได้แยกปกครองพระสงฆ์เป็นคณะ




คณะหนึ่งมีหัวหน้าปกครองและรองคณะอีกรูปหนึ่ง มีเหตุการณ์ใดให้ตัดสินใจและรายงานให้เจ้าอาวาสทราบดังนี้




1.หลวงพ่อปานและพระอาจารย์อิ่ม เป็นหัวหน้าคณะปกครองสอนเรื่องกัมมัฏฐาน




(เมื่อออกพรรษาแล้วออกธุดงค์เป็นคณะใหญ่)




2.หลวงพ่อเรือน เป็นหัวหน้าคณะ สอนชีและอุบาสกอุบาสิกาทั่วไป




3.หลวงพ่อล่า เป็นหัวหน้าคณะว่าด้วยหมอผี หมอน้ำมนต์




4.หลวงพ่ถัน เป็นเจ้าอาวาสและหัวหน้าคณะปกครองทั่วไป ตลอดจนดูแลเด็ก




.......หลวงพ่อถันปกครองวัดมานาน จนหลวงพ่อปานสร้างมณฑปเพื่อจะเอาไว้รอยพระพุทธบาท




(หน้า โรงเรียนวัดมงคลโคธาวาส)พอการก่อสร้างใกล้เสร็จ ยกยอดเสร็จเรียนร้อย ท่านก็ล้มป่วย




และมรณภาพ บรรดาพระเณร อุบาสกอุบาสิกาประชุมกันด้วยการสนับสนุนจากหลวงพ่อปาน




ให้ หลวงพ่อทองเป็นเจ้าอาวาส




.......สมัยนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส




(ผู้วางระเบียบการปกครองสงฆ์ และผู้แต่งหนังสือนวโกวาท)




ออกตรวจการปกครองสงฆ์มณฑลบูรพา เห็นพระเณรวัดมงคลโคธวาส มีความประพฤติเรียบร้อยดี




จึงทรงกรุณาแต่งตั้งหลวงพ่อทอง เป็น พระครูสุทธิรัต เป็นพระอุปัชณาย์และเจ้าคณะแขวงบางบ่อ




มีพระฐานานุกรม คือ พระปลัดแวว และพระสมุห์นิ่ม
.......สมัยหลวงพ่อทอง พระผู้ทรงคุณวุฒิ มรณภาพไปหลายรูป คือ หลวงพ่อปาน, หลวงพ่อเรือน,




หลวงพ่อล่า, หลวงพ่อลาว, พระอาจารย์อิ่ม (ไปมรณะที่เมืองหงสาวดี) และ พระอาจารย์บัว




ทำให้วัดเงียบเหงาไปมาก ท่านอุปสมบทบุตรทนายซัว เป็นคนสุดท้ายและมรณภาพในปีนั้นเอง





ประวัติหลวงพ่อปาน




.......หลวงพ่อปานเป็นชาวคลองด่านแต่กำเนิด เกิดประมาณปี 2468 รัชสมัย รัชกาลที่ 3




ในวัยเยาว์ ได้เข้าศึกษากับเจ้าคุณศรีศากยสุนทร สำนักวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)




และได้บรรพชาที่วัดแจ้ง ภายหลังได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลานอก




ศึกษาสรรพวิชาจนเชียวชาญ หลวงพ่อปานท่านเป็นคนพูดน้อย เป็นที่เคารพยำเกรงและเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น




ท่านออกธุดงค์ทุกปี ที่ใดที่เหมาะแก่การพระศาสนา ก็จะทำสัญลักษณ์ไว้ ต่อมาก็กลายเป็นวัด




เช่น วัดปานประสิทธาราม วัดไตรสรณาคม วัดหงส์ทอง เป็นต้น





พระราชนิพนธ์ ประพาสมณฑลปราจีนบุรี ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




รศ.127 (พ.ศ.2451) ดังนี้




......วันที่ 24 โปรแกรมวันนีอยู่ข้างเลอะเทอะ เปลี่ยนแปลงมาก เดิมกำหนดอยู่ในราว 4 โมง




(อยู่บางเหี้ยถึง 4 โมง ) ออกจากบางเหี้ย เข้ามาทำกับข้าวกินที่พระสมุทรเจดีย์




จากจะไปเที่ยวคลอง บางปลากดเวลา 5 โมง จึงขึ้นโมเตอร์เตรียมกลับ





.......เวลา บ่าย 2 โมง เลยเวลากิน แต่เคราะห์ดีอย่างวานนี้ที่หาปิ่นโตไว้




เวลาเช้าที่ว่างนั้น พวกราษฎรพากันอยากจะเห็นจึงออกไปให้เห็นแลแจกเสมา




พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานนี้นิยมกันในทางวิปัสนาแลธุดงควัตร




มีพระสงฆ์วัดต่างๆได้เดินธุดงค์ด้วย 200-300 แรกลงไปประชุมอยู๋ที่วัดบางเหี้ย




มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยงกินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดและออกเดินทาง




ทางที่เดินนั้นลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นมาปราจีน นครนายกไปพระบาท (สระบุรี)




แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ว่ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นไว้แต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้




ผ่านกรุงเทพกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู๋ในเดือนห้าเดือนหก




ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา 40 ปีแล้ว





.......สังเกตุดูอัชาไศรยก็เป็นคนแก่ใจดี กิริยาเรียบร้อย อายุ 70 แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต




เป็นคนพูดน้อย คนอื่นมาช่วยพูด








......หลวงพ่อปาน มรณะด้วยโรคชรา เมื่อวันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน9 ปีจอ โทศก 1272 รศ.129




ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 5 ทุ่ม 45 นาที




พระราชทานเพลิงศพ ณวัดมงคลโคธาวาส วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 9 เมษายน 2454




(ที่มา http://www.oknation.net/blog/khonklongdan/2009/07/20/entry-5 เด็กคลองด่าน
-->วันที่ : 12/09/2010 เวลา : 08.20 น.)